วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

- ก า ร ล่ อ ง เ รื อ ช ม หิ่ ง ห้ อ ย ...// * *

ล่องเรือชมหิ่งห้อยรอบเกาะอัมพวา


          หิ่งห้อย นับว่าเป็นแมลงมีคุณลักษณะพิเศษ คือสามารถบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์และสมดุลของธรรมชาติได้ โดยเฉพาะมีคุณสมบัติที่สามารถใช้เป็น “ตัวห้ำ” ในการควบคุมศัตรูพืชตามหลักการทางชีวภาพ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การเกษตรกรรม ซึ่งเป็นวิถีชีวิตหลักของคนไทย


           หิ่งห้อยนี้ในระยะที่เป็นตัวหนอนจะกินหอยเล็กๆ เป็นอาหาร ซึ่งหอยเหล่านั้นเป็นพาหะนำโรคหลายชนิดมาสู่มนุษย์และสัตว์ เช่น โรคพยาธิใบไม้ในลำไส้โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น นอกจากนั้น หิ่งห้อย ยังเป็นตัวห้ำ ทำลายหอยเชอรี่ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญกัดกินทำลายต้นข้าว ในระยะลงกล้าและระยะปักดำใหม่ๆ หิ่งห้อยจึงเป็นแมลงที่มีความสำคัญทั้งในด้านการแพทย์และการเกษตร

          ในกรุงเทพฯนี้ ในอดีตบริเวณปากคลองบางลำพู เคยมีหิ่งห้อยเป็นจำนวนมาก แต่ก็หมดไป เมื่อวิถีชีวิตของผู้คนแถบนั้นเปลี่ยนไป เมื่อ พ.ศ. 2542 กรมศิลปากรร่วมกับกรุงเทพมหานครได้บูรณะป้อมพระสุเมรุและบริเวณจัดสร้างเป็นสวนสาธารณะสันติชัยปราการ และสร้างพระที่นั่งสันติชัยปราการ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าพักผ่อนหย่อนใจน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศล ได้มีการปลูกต้นลำพู และเลี้ยงหิ่งห้อย เพื่ออนุรักษ์และขยายพันธุ์ เป็นการฟื้นฟูวิถีชีวิตบางลำพูในอดีตด้วย




           สถานที่ชมหิ่งห้อยที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน เช่น ที่ริมคลองตลาดน้ำอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีมากในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม -ตุลาคม ควรเลือกชมในคืนเดือนมืด เพราะเห็นแสงของหิ่งห้อยได้ชัดเจน


ข้อแนะนำสำหรับการชมหิ่งห้อย
  • ช่วงเวลาหรือฤดูกาลที่เหมาะสม โดยปกติแล้วหิ่งห้อยจะมีตลอดทั้งปี แต่จะมากในฤดูร้อน และฤดูฝน โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือน พฤษภาคม – ตุลาคม
  • เลือกช่วงเวลาที่เป็นข้างแรม เนื่องจากแสงของหิ่งห้อยมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าเป็นเวลาข้างขึ้น ท้องฟ้าจะสว่าง ทำให้เห็นแสงของหิ่งห้อยไม่ชัดเจน จึงควรเลือกวันที่ท้องฟ้ามืดมิด
  • เลือกช่วงเวลาที่น้ำมาก จังหวัดสมุทรสงครามเป็นจังหวัดที่อยู่ใกล้ทะเล น้ำจะขึ้น-ลง อยู่ตลอดเวลา ควรจะเลือกวันที่น้ำมาก เพราะเรือสามารถเข้าไปใกล้กับต้นลำพูซึ่งหิ่งห้อยเกาะอยู่ ทำให้สามารถเห็นแสงของหิ่งห้อยได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • เลือกผู้ให้บริการ การล่องเรือชมหิ่งห้อยในยามค่ำคืน เรือจะวิ่งไปตามแม่น้ำและลำคลองที่มืด หิ่งห้อยจะมีอยู่เป็นจุดๆ ในบริเวณที่แตกต่างกัน ถ้าหากผู้ให้บริการไม่มีความชำนาญในเส้นทางและรู้แหล่งที่อยู่ หรือให้บริการในเส้นทางที่สั้นเกินไป ย่อมทำให้นักท่องเที่ยวเห็นหิ่งห้อยได้น้อย ซึ่งควรตรวจสอบระยะทางการล่องเรือชมหิ่งห้อยกับผู้ให้บริการเสียก่อน
        จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นจังหวัดเล็กๆ ที่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เพียง 63 กิโลเมตร ดังนั้นการเดินทางมาเที่ยวและพักผ่อนที่ บ้านปลาทับทิมแม่กลองรีสอร์ทจึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่ท่านจะได้สัมผัสถึงกลิ่นไอธรรมชาติและวิถีชีวิตของคนริมน้ำอย่างแท้จริง

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

images by free.in.th ที่ พั ก . . . / / / * *

 ที่พัก ณ อัมพวา

วรากรบ้านสวนอัมพวา โฮมสเตย์ 
     
          ที่พักสวยท่ามกลางสวนอันสงบร่มรื่นและอากาศบริสุทธิ์ของธรรมชาติท่ามกลางสวนลิ้นจี้ที่ขึ้นชื่อของอัมพวาและสวนมะยงชิด(มะปรางไข่ไก่) บนเนื้อที่กว่า 3 ไร่ พักผ่อนกับบรรยากาศบ้านพักที่สะดวกสบายเป็นส่วนตัว เที่ยวชมสวนผลไม้ เพลิดเพลินกับการให้อาหารปลาในคลองหน้าบ้านพัก เดินเพียง 5 นาทีจาก “ตลาดน้ำยามเย็นอัมพวา” หรือ "โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ มูลนิธิชัยพัฒนา"...ที่เดียวที่จะพาคุณสัมผัสกับวิถีชีวิตแบบธรรมชาติสายลม อากาศบริสุทธิ์ ดวงดาวระยิบระยับเต็มท้องฟ้าได้แบบเต็มอิ่ม พักผ่อนในห้องพักแแสนสบาย เพลิดเพลินไปกับกิจกรรมแสนประทับใจ ล่องเรือชมลำน้ำไหว้พระคู่บ้านคู่เมืองรอบเกาะอัมพวา กินปลาทู ดูหิ่งห้อย เที่ยวตลาดน้ำอัมพวา


สิ่งอำนวยความสะดวก


- แอร์ ทีวี / เคเบิลทีวี เครื่องทำน้ำอุ่น ตู้เย็น อาหารเช้า / กาแฟ ชา / น้ำดื่ม ที่จอดรถในบริเวณที่พัก


ติดต่อ



ที่อยู่ :
21 ถ.บางจาก-โรงเจ ต.อัมพวา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
โทรศัพท์ :
089-4981063, 034-751153, 086-7770917
โทรสาร :
-
อีเมลล์ :
ratchasu@gmail.com
เว็บไซต์ :
www.warakornbaansuan-amphawa.comfacebook

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ส ถ า น ที่ แ น ะ นำ ท่ อ ง เ ที่ ย ว เ พิ่ ม เ ติ ม . . . ! ! ~

ธรรมชาติ... สายลม... แสงแดด... ท้องฟ้าใส... ยามใดที่คุณลืมตา แล้วพบว่าตัวเองกำลังอยู่ในช่วงเวลาอันแสนสุข ความสนุกอยู่ไม่ไกล ยามนั้นคุณก็น่าจะรู้ดีอยู่แก่ใจ ว่าคุณกำลังอยู่ในสถานที่ท่องเที่ยวสุดเจ๋ง ... "อัมพวา" ลัล... ลัล... ลา ณ สมุทรสงคราม นั่นเอง  

          "อัมพวา" เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของ จังหวัดสมุทรสงคราม บรรยากาศของที่นี่จะร่มรื่นไปด้วยสวนผสมริมน้ำ ทั้งลิ้นจี่ มะม่วง มะพร้าว มะละกอ กล้วย ส้มโอ ฯลฯ สารพัดผลไม้รอให้เรามาชื่นชม โดยเราสามารถหลบร้อนไปลงเรือล่องคลองชมสวน สัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้าน ชิมผลไม้ต่างๆ หรือซื้อกลับไปกินบ้านให้ชื่นฉ่ำใจก็ได้ไม่มีใครว่า หรือจะเลือกปั่นจักรยานเช่าถีบไปคู่ขนานกับท้องร่อง ก็ได้อรรถรสอีกแบบหนึ่ง   
                         นอกจากการเที่ยวชมวิถีธรรมชาติแล้ว การท่องเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ อย่างเช่นการไหว้พระ ทำบุญ ที่ "วัดแว่นจันทร์" ซึ่งมีโบสถ์ไม้สักอายุกว่าร้อยปี ซึ่งเพิ่งผ่านการบูรณะมา แลดูสดใหม่ แต่ว่ากันว่า รูปลักษณ์ยังคงสถาปัตย์เก่าแก่สมัยต้นรัตนโกสินทร์โน่นทีเดียว ต่อกันที่ "วัดภุมรินทร์กุฎีทอง" มีกุฎีเป็นเรือนไม้สักทองขนาดใหญ่ เขียนลายรดน้ำปิดทองทั้งหลัง โดยพระมเหสีในรัชกาลที่ 1 เป็นผู้สร้างถวายเจ้าอาวาสในสมัยนั้น ตัวกุฎีแต่เดิมมีถึง 3 หลังแต่ถูกน้ำเซาะหายไปเหลือเพียงหลังเดียว ปัจจุบันภายในจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงเครื่องใช้โบราณที่ชาวบ้านเอามาถวายวัดนั่นเอง   และไม่ควรพลาดชมอันซีนที่ "วัดบางกุ้ง" ตั้งอยู่บนถนนราชบุรี - วัดโบสถ์ อำเภอบางคนที ซึ่งเป็นบริเวณค่ายบางกุ้ง เดิมเคยเป็นค่ายทหารเรือ สมัยพระเจ้าเอกทัศน์แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ ที่มีเรื่องราวของวีรกรรมชาวแม่กลอง ...ในบริเวณวัดมีกำแพงจำลองของค่ายอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สระน้ำโบราณอายุประมาณ 400 ปี และพบสิ่งมหัศจรรย์หนึ่งอย่าง ได้แก่ โบสถ์ปรกโพธิ์ เป็นอารามเก่าแก่ คาดว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ. 2250-2300 ซึ่งมีต้นไม้ 4 ชนิด คือ ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นไกร และต้นกร่าง ค้ำยันแผ่กิ่งก้านคลุมโบสถ์ไว้จนไม่เห็นรูปทรง ภายในโบสถ์เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อนิลมณี (หลวงพ่อดำ) ซึ่งเป็นพระพุทธรูป ปู นปั้นขนาดใหญ่ สวยงามและอัศจรรย์ไม่น้อยเลย 
               
นอกจากนี้ เรายังสามารถนั่งเรือข้ามแม่กลองสู่ท่าเทียบเรือบริเวณ "อุทยาน ร. 2" หรืออุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งภายในจัดแสดงศิลปวัตถุและความเป็นอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 2 ทั้งยังมีโรงละครกลางแจ้ง และสวนพฤกษชาติ ซึ่งเป็นสวนพันธุ์ไม้ในวรรณคดีนานาชนิดอีกด้วย  

         ตกเย็นการท่องเที่ยวยังไม่จบสิ้น และเป็นไฮไลต์ของการเยือนอัมพวาเลยทีเดียว นั่นคือ การชมและชิมอาหารหลากหลายที่"ตลาดน้ำอัมพวา" เป็นตลาดริมคลอง ตั้งอยู่ใกล้วัดอัมพวันเจติยาราม (จอดรถที่วัดอัมพวันเจติยารามได้) ทุกวันศุกร์ - อาทิตย์ ในช่วงเวลาเย็นตั้งแต่ช่วงเวลา 12.00 - 20.00 น. ในคลองอัมพวาจะมีพ่อค้าแม่ค้าพายเรือขายอาหารและเครื่องดื่ม เช่น หอยทอด ก๋วยเตี๋ยว กาแฟ โอเลี้ยง ขนมหวานต่างๆ และมีรถเข็นขายของบนบกด้วย บรรยากาศสบายๆ มีเพลงฟัง จากเสียงตามสายของชาวชุมชน ประชาชนสามารถเดินเที่ยวชมตลาดหาซื้ออาหารรับประทานและเช่าเรือไปเที่ยวชมดูหิงห้อยในยามค่ำคืนได้  หรือถ้าหากอยากนั่งดินเนอร์สบายๆ รับสายลมเย็น ...ร้านอาหารบรรยากาศดีๆ ริมแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งมีอยู่มากมาย ก็รอให้คุณมาลิ้มรสอาหารทะเลสดๆ รสชาติถึงใจกันอยู่ค่ะ  หลังจากชิมอาหารและท่องตลาดน้ำยามเย็นกันจนอิ่มท้องแล้ว ถ้าใครไม่หมดแรงไปซะก่อน ต้องต่อด้วยทริปลงเรือล่องแม่กลองชมหิ่งห้อย ซึ่งเป็นโปรแกรมปิดท้ายที่ไม่ควรพลาด เพราะตลอดช่วงระยะ 4 - 5 กิโลเมตรเลียบลำน้ำแม่กลอง กับบรรยากาศที่เงียบและมืดพอสมควร เราก็จะได้เห็นหิ่งห้อยที่กระจุกตัวอยู่รวมกันเป็นดงใต้ต้นลำพู ส่องแสงกระพริบวิบวับให้เราได้ชื่นชมกัน ราวกับไฟคริสต์มาสไม่มีผิด...ซึ่งการใช้เรือยนต์ ก็ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศน์ของลำน้ำแม่กลองไม่น้อย อันอาจจะทำให้หิ่งห้อยลดจำนวนลง จึงขอแนะนำว่าควรใช้เรือพาย พายไปเงียบๆ กับตะเกียงส่องทาง หรือนั่งชมหิ่งห้อยอยู่ที่ท่าน้ำหน้าโฮมสเตย์ที่พัก ก็ได้กลิ่นอายความโรแมนติกดีทีเดียว (และเวลาถ่ายรูปก็ไม่ควรใช้แฟลชนะคะ เพราะจะรบกวนหิ่งห้อยเค้าได้ค่ะ)  
                การชมหิ่งห้อยต้องใช้เวลาช่วงหัวค่ำจนถึงกลางดึก ซึ่งหากมีเวลา และไม่รีบเร่งมากนัก ก็ควรพักที่อัมพวาสักหนึ่งคืน ซึ่งที่พักไม่ว่าจะเป็นแบบรีสอร์ท หรือแบบโฮมสเตย์ ก็มีให้เลือกมากมาย เลยนะคะ มีตั้งแต่ราคาคืนละ 100 บาท ไปจนถึงแบบอลังการคืนละ 7,000 - 8,000 บาท ก็มีค่ะ ขึ้นอยู่กับว่าชอบแบบชาวบ้านๆ หรือหรูหราหน่อยนั่นเอง (อิอิ) แถมรุ่งเช้าเรายังสามารถตื่นมารับแสงอาทิตย์ของวันใหม่ และทำบุญตักบาตรพระ ซึ่งพายเรือมาบิณฑบาตรถึงท่าน้ำที่พักกันเลยค่ะ ได้บรรยากาศวิถีชิวิตริมน้ำแบบไทยโบราณสุดๆ แถมยังได้บุญอีกด้วย เที่ยวสนุก...ผ่อนคลาย.. .ปลดปล่อยความวุ่นวายจากเมืองกรุง มาสัมผัสบรรยากาศเย็นสบายสไตล์ชาวอัมพวา... รับรองว่าคุณต้องหลงเสน่ห์อัมพวาเป็นได้...  
การเดินทาง
รถยนต์  

          จากตัวจังหวัดใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 325 ทางเดียวกับไปอำเภอดำเนินสะดวกและอุทยาน ร. 2 ประมาณ 6 กิโลเมตร ก่อนถึงสามแยกไฟแดง มีทางแยกทางซ้ายเข้า อ.อัมพวา ไปอีกประมาณ 800 เมตร ทางแยกซ้ายมือ เข้าตลาดอัมพวา จอดรถบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภออัมพวา  
                หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ   


          - สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร.0-3471-6962  

          - สถานีรถไฟสมุทรสงคราม โทร.0-3471-1906  

          - ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร.0-3471-4881  

          - ตำรวจทางหลวง โทร.1193  

          - ตำรวจท่องเที่ยว โทร.1155 


                

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเดินทางไปตลาดน้ำอัมพวา

การเดินทางไปตลาดน้ำอัมพวา


1.ทางรถยนต์ 
จากตัวจังหวัดใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 325 ทางเดียวกับไปอำเภอดำเนินสะดวกและอุทยาน ร.2 ประมาณ 6 กม ก่อนถึงสามแยกไฟแดง มีทางแยกทางซ้ายเข้า อ.อัมพวา ไปอีกประมาณ 800 เมตร. ทางแยกซ้ายมือ เข้าตลาดอัมพวา จอดรถบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภออัมพวา
2.รถประจำทาง
จากสถานีขนส่งสายใต้ รถสาย 996 กรุงเทพฯ-ดำเนินฯ เป็นรถปรับอากาศ ผ่านจังหวัดสมุทรสงคราม ถึง ตลาดอัมพวา สาย 976 กทม.-สมุทรสงคราม ถึงสถานีขนส่งสมุทรสงคราม ขึ้นรถประจำทางสาย 333 แม่กลอง-อัมพวา-บางนกแขวก ถึงตลาดอัมพวา
3.รถตู้
ขึ้นที่อนุสาวรีย์ชัยฝั่งถ.พหลโยธินใต้ทางด่วน ไปอัมพวาด้วยนะครับเป็นรถตู้สาย กทม-แม่กลอง  ค่ารถขาไป 70 บาท  ตั้งแต่ 6.25-20.00 น. ค่ารถขากลับ 60 บาท  ตั้งแต่  5.30-19.00  น. (รถจอดแถวตลาดแม่กลอง) ลงที่ตลาดแม่กลอง แล้วเดินมาแถวตลาดจะมีคิวรถสองแถวสายที่ไปโรงเจตรงตลาดน้ำอัมพวา ค่ารถ 10 บาท

ประวัติของตลาดน้ำอัมพวา

    อัมพวา ด้วยเหตุที่อำเภออัมพวาเป็นสถานที่สำคัญ และเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์อยู่มาก สมัยก่อนเรียกกันว่า "แขวงบางช้าง" เป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่มีความเจริญทั้งในด้านการเกษตร และการพาณิชย์ มีหลักฐานเชื่อได้ว่า ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้น แขวงบางช้างมีตลาดค้าขายเรียกว่า "ตลาดบางช้าง" นายตลาดเป็นหญิงชื่อน้อย มีบรรดาศักดิ์เป็นท้าวแก้วผลึก นายตลาดผู้นี้อยู่ในตระกูลเศรษฐีบางช้างซึ่งต่อมาเป็นราชนิกุล "ณ บางช้าง"
เมื่อ พ.ศ. 2303 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ โปรดเกล้าฯ ให้นายทองด้วง (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี ซึ่งเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา ต่อมาหลวงยกกระบัตรได้แต่งงานกับคุณนาคบุตรีเศรษฐีบางช้าง และได้ย้ายบ้านไปอยู่หลังวัดจุฬามณี ต่อมาเมื่อไฟไหม้บ้านจึงได้ย้ายไปอยู่ที่หลังวัดอัมพวันเจติยาราม อีก 3 ปี
เมื่อ พ.ศ. 2310 พม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก หลวงยกกระบัตรจึงตัดสินใจอพยพครอบครัวเข้าไปอยู่ในป่าลึก ในระหว่างนี้ ท่านแก้ว (สมเด็จกรมพระศรีสุดารักษ์) พี่สาวของหลวงยกกระบัตร ได้คลอดบุตรหญิงคนหนึ่งตั้งชื่อว่า "บุญรอด" (ต่อมาได้เป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ 2) ครั้งเมื่อพระยาวชิรปราการได้รวบรวมกำลังขับไล่พม่าออกไปหมดแล้ว ได้สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าตากสิน หลวงยกกระบัตรจึงได้อพยพครอบครัวกลับภูมิลำเนาเดิมในช่วงนี้เอง คุณนาคก็ได้คลอดบุตรคนที่ 4 เป็นชาย ชื่อฉิม (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) หลังจากนั้น หลวงยกกระบัตร ก็ได้กลับเข้ารับราชการอยู่กับพระเจ้าตากสิน ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระราชวรินทร์เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา จนกระทั่งเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต้นราชวงศ์จักรี คุณนาค ภรรยาก็ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ คุณสั้น มารดาคุณนาค ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระรูปศิริโสภาคมหานาคนารี
แต่เนื่องจากสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ทรงเป็นคนพื้นบ้านบางช้างมาก่อน จึงมีพระประยูรญาติที่สนิท ประกอบอาชีพทำสวนต่าง ๆ อยู่ที่บางช้างนี้มาก เมื่อได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระอมรินทรามาตย์จึงนับเป็นราชินิกุล บางช้าง พระประยูรญาติจึงเกี่ยวดองเป็นวงศ์บางช้างด้วย และสมเด็จพระอมรินทร์ฯ มักทรงเสด็จเยี่ยมพระประยูรญาติเสมอ จึงมีคำเรียกว่า "สวนนอก" คือ สวนบ้านนอก ที่เป็นของวงศ์ราชินิกุลบางช้าง ส่วนบางกอก ซึ่งเป็นส่วนของเจ้านายในราชวงศ์ก็เรียกว่า "สวนใน" มีคำกล่าวว่า "บางช้างสวนนอก บางกอกสวนใน" จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 จึงยกเลิกไป

คำขวัญจังหวัดสมุทรสงคราม: เมืองหอยหลอด  ยอดลิ้นจี่  มีอุทยาน ร 2  แม่กลองไหลผ่าน  นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม



          ตลาดน้ำที่ไหน ๆ ก็ติดตลาดกันแต่ตอนเช้าทั้งนั้น   แต่ที่ตลาดน้ำอัมพวาเขาเรียกว่าเป็น "ตลาดน้ำยามเย็น" ที่เริ่มติดตลาดเอาตอนบ่ายสี่โมงไปยันค่ำ ขับรถสบาย ๆ จากกรุงเทพไปชั่วโมงเศษก็ถึงแล้ว  ที่นี่นอกจากจะมีอาหารสารพัดให้เลือกชิมแล้วยังมีบรรยากาศห้องแถวเรือนไม้สองฟากคลองของเก่าแก่ให้ได้ย้อนอดีตกลับไปชื่นชมกันด้วย
อาหารการกินแสนถูกเพียงจานละ 10 บาท 15 บาท ที่สำคัญแม่ค้าแม่ขายจะพายเรือมาจอดให้คุณเกาะตลิ่งสั่งขึ้นมาชิมกัน และความที่เป็นตลาดเย็นอย่างนี้ก็เลยมีกิจกรรมล่องเรือไปชมหิ่งห้อยตัวน้อยส่องแส่งวับแว่บกันอีกด้วย เก๋ไก๋ไม่เหมือนใครเลยทีเดียว แต่ถ้าสนใจจะไปเที่ยวกันอย่าลืมว่า ตลาดมีเฉพาะ ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เท่านั้น


          พอแดดร่มลมตกซักหน่อย เรือบางส่วนก็ย้ายข้ามมาให้บริการกันอีกฟากหนึ่งของคลอง ที่มีที่ทางกว้างขวางกว่า แล้วก็มีโต๊ะเก้าอี้มาตั้งให้บริการทานกันได้สะดวกหน่อย
 แอบกระซิบว่าทางฝั่งที่มีโต๊ะเก้าอี้นี่ตอนบ่ายแดดจะลงเลยไม่มีคนมานั่งกัน  แต่พอแดดหมดคนก็ตรึมอย่างที่เห็น  เพราะงั้นพอแดดอ่อนแสงลงสักนิดก็ส่งหน่วยหน้ามายึดพื้นที่ไว้ก่อน อีกส่วนก็ออกลาดตระเวนหาเสบียง จะเป็นการดียิ่งนัก